บริษัท
ขนส่ง จำกัด (บขส.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงคมนาคม
ดำเนินการในด้านการบริการขนส่งผู้โดยสารโดยรถประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ
ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ระหว่างจังหวัดต่อจังหวัด (หมวด 2)
และให้เอกชนเข้ามามีส่วนดำเนินการในรูปของรถร่วมเอกชน วิ่งในเส้นที่
บขส. ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งด้วย นอกจากนั้นแล้ว บขส.
ยังเปิดให้บริการเส้นทางเดินรถในต่างประเทศ ทั้งในลาว (เวียงจันทร์, ปากเซ
และหลวงพระบาง), กัมพูชา
รวมถึงในอนาคตจะเข้าไปเปิดให้บริการในประเทศพม่าและเวียดนามต่อไปในอนาคต
นอกเหนือจากการบริหารจัดการเรื่องของการเดินรถแล้ว
บขส. ยังคงให้ความสำคัญในแง่ของการบริหารจัดการะบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)
ด้วยเช่นกัน ซึ่งหน่วยงานไอทีของ บขส. ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
จะขึ้นตรงกับกองเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายพัฒนาองค์กร ขององค์กร โดยมีคุณสิทธิชัย
เกาศล เป็นผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว
คุณสิทธิชัย
เล่าให้ฟังว่า ระบบไอทีของ บขส. นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เพราะเนื่องจาก บขส. มีเครือข่ายและลูกข่ายหรือสถานีขนส่งต่างๆ
อยู่ทั่วประเทศรวมถึงจุดย่อยๆ อีกเป็นจำนวนมากกว่า 120 แห่ง (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) โดยสถานีต่างๆ
เหล่านี้ก็จะมีการติดตั้งระบบและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกแห่ง เพื่อดำเนินการด้าน Front
Office และ Back Office โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากที่ทางกองเทคโนโลยีสารสนเทศต้องคอยดูแลทั่วประเทศ
ซึ่งการบริหารจัดการของ บขส. นั้นจะเป็นการดูแลจากส่วนกลาง
ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษาเครื่อง, การเชื่อมต่อระบบ, การดูแลด้านความปลอดภัย,
การบริหารจัดการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ (มียูสเซอร์ในระบบประมาณราวๆ 1,600 คน) ก็จะขึ้นตรงต่อ กองเทคโนโลยีที่มีเจ้าหน้าที่ระบบไอทีเพียงแค่ประมาณแค่
20 คนเท่านั้น
เป็นเรื่องปกติขององค์กรที่มีจำนวนยูสเซอร์และคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
ที่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวข้องกับระบบมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์,
การบำรุงดูแลรักษาเครื่อง, การตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเครื่อง
(ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของ บขส. ที่เน้นใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายเป็นหลัก) คุณสิทธิชัยเล่าให้ฟังว่า
เนื่องจากธุรกิจของ บขส. นั้นเป็นธุรกิจการเดินรถ
ทำให้เวลาเครื่องเสียหรือมีปัญหาก็จะส่งเครื่องมาพร้อมกับรถบัสเลย
และทางศูนย์กลางจะส่งเครื่องสำรองหรืออะไรคืนกลับไปให้ใช้ (เช่น หากที่ บขส.
ที่จังหวัดขอนแก่นมีเครื่องคอมพิวเตอร์เสีย
ก็จะส่งมากับรถบัสที่จะวิ่งกลับขึ้นมากรุงเทพฯ
และก็จะส่งเครื่องสำรองกลับไปในอีกวันที่รถบัสกลับไปที่ขอนแก่น รวมถึงจังหวัดอื่นๆ
ด้วย) ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการส่งซ่อมเครื่องลงมายังศูนย์กลางนั้น
ก็ต้องมีเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์และคอยมอนิเตอร์เครื่องเหล่านั้นอยู่โดยตลอด
โดยก่อนหน้าที่ บขส. จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ StarCat ก็จะใช้วิธีการพูดคุยสอบถามปัญหาผ่านการโทรศัพท์ระบบไอพี
แต่อย่างไรก็ตามก็พบว่าวิธีการดังกล่าวไม่ค่อยมีความสะดวกในการใช้งาน จึงได้ตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์
StarCat ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ
ในการเข้ารีโมทแอ็คเซสเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายปลายทาง, สามารถควบคุมเครื่อง,
พร้อมทั้งตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นและสอนการใช้งานให้แก่ผู้ใช้ได้ทันที และที่สำคัญคุณสิทธิชัยกล่าวว่าด้วยความที่ซอฟต์แวร์ดังกล่าวนั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการ
รวมถึงความประทับใจที่พัฒนาด้วยฝีมือคนไทย ทำให้ บขส.
จึงไม่ลังเลที่จะตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้
ปัจจุบันฟีเจอร์
ของ StarCat
ที่ บขส. นิยมใช้อยู่เป็นประจำประกอบด้วย การรีโมทแอ็คเซสจากทางไกล,
การใช้ระบบ Help desk ในการแก้ปัญหา,
การตรวจสอบไลเซ่นส์ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องปลายทาง เป็นต้น ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีสารสนเทศยังอธิบายถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ
StarCat ครั้งนี้ ช่วยให้ บขส.
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรไอทีที่มีอยู่จำนวนจำกัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนพนักงานเพิ่ม
ลดระยะเวลาในการดูแลและบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละที่ได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย หากท่านใดสนใจรายละเอียดติดต่อข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
StarCat ได้ที่ MOSCII
CORPORATION, โทรศัพท์ 02-582-8299
หรือที่เว็บไซต์ www.moscii.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น